public relations

12 มี.ค. 2567

สิทธิบัตรทองหากได้รับความเสียหายจากการรักษา ขอรับเงินช่วยเหลือได้ !

ผู้มีสิทธิบัตรทอง (บัตร 30 บาท) หากใช้สิทธิบัตรทอง แล้วได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลซึ่งไม่ใช่เป็นพยาธิสภาพของโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545


โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือทายาทหรือผู้อุปการะหรือหน่วยบริการที่ให้บริการต้องยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย

ประเภทและอัตราการช่วยเหลือเบื้องต้น 

ประเภทที่ 1 เสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร (240,000-400,000)

ประเภทที่ 2 พิการหรือสูญเสียอวัยวะ (100,000-240,000)

ประเภทที่ 3 บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง (ไม่เกิน 100,000 บาท) 

✳️ เป็นความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ที่ไม่ใช่พยาธิสภาพของโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค เงินช่วยเหลือเบื้องต้นไม่ใช่เงินชดเชย มีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดความขัดแย้ง และไม่พิสูจน์ถูกผิด ✳️

ใครยื่นคำร้องได้บ้าง ผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริหาร

ระยะเวลา ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย

การเขียนคำร้องต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.ชื่อ-นามสกุล ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย

2.ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล

3.ชื่อของหน่วยบริการที่ให้การรักษาพยาบาล

4.วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และวันที่ทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น

5.สถานที่ที่สามารถติดต่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายได้โดยสะดวก

6.ระบุภาระที่ผู้รับบริการจะต้องรับผิดชอบเศรษฐานะ

หลักฐานประกอบคำร้องของผู้ได้รับความเสียหาย ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตร หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ) เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงรายละเอียดข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณา


สถานที่ยื่นคำร้อง

•    หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

•    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ในจังหวัดที่เกิดเหตุ) หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13

•    “ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง” หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5)

•    สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  

1.สายด่วน สปสช. 1330 

2.ช่องทางออนไลน์

• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
 

19 พ.ย. 2566

ทำไมมะเร็งปากมดลูกควรป้องกันตั้งแต่เด็ก

ทำไมมะเร็งปากมดลูกควรป้องกันตั้งแต่เด็ก


  •     มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม เกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จะติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV จึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  •     วัคซีน HPV คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ และวัคซีนชนิดนี้ยังป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วย สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี จนถึงอายุ 26 ปี
  •     ควรฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เด็กเพราะ วัคซีนชนิดนี้ควรฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์จะมีประสิทธิภาพการป้องกันได้ดีที่สุด หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่าผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และควรฉีดในวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้สูง 70-90% แม้จะใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ และยังคงต้องมีการตรวจคัดกรองอยู่
  •     ความแตกต่างของวัคซีน HPV ชนิด 4 และ 9 สายพันธ์ คือ วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธ์ จะเหมาะกับการฉีดให้ผู้ที่มีอายุ 9 ปี ถึง 26 ปี สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง หรือภาวะเซลล์ผิดปกติ ส่วนวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธ์ จะเหมาะกับการฉีดให้ผู้ที่มีอายุ 9 ปี ถึง 45 ปี สามารถป้องกันโรคได้มากขึ้นกว่าเดิม ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก และมะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง หรือภาวะเซลล์ผิดปกติ
  •     วัคซีน HPV ห้ามฉีดให้กับผู้ที่มีภาวะภูมิไวเกิน และผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อยีสต์ คนที่เคยฉัดวัคซีนชนิด 2 และ 4 สายพันธุ์ไปแล้ว สามารถฉีดวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ เพิ่มอีกได้
  •     ต้นเหตุคือไวรัส วัคซีนจึงป้องกันได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรพาเด็กๆ มาฉีดวัคซีน HPV โดยด่วนนะคะ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในวัยที่ยังสร้างได้ และเพื่อป้องกันโรคร้ายให้กับคนที่คุณรัก หรือท่านใดที่สนใจสามารถเข้ามาฉีดที่โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทราได้เลยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : rpchospital.com

วัคซีน HPV ป้องกันโรคอะไร? ฉีดกี่ครั้ง ตอนไหนบ้าง ?

“วัคซีน HPV” ป้องกันโรคอะไร? ฉีดกี่ครั้ง ตอนไหนบ้าง ?

 


วัคซีนเอชพีวี หรือที่เรียกกันว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันมี 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด 2 สายพันธุ์, ชนิด 4 สายพันธุ์ และชนิด 9 สายพันธุ์

วัคซีนเอชพีวีป้องกันโรคอะไรได้บ้าง

นอกจากป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แล้ว ในเพศหญิงยังป้องกันมะเร็งของอวัยวะอื่นได้อีก ได้แก่

  •     มะเร็งปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด
  •     ทวารหนัก
  •     ช่องปากและคอหอย


ในผู้ชายวัคซีนสามารถป้องกัน

  •     มะเร็งองคชาติ
  •     ทวารหนัก
  •     ช่องปากและคอหอย


นอกจากนี้วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ และชนิด 9 สายพันธุ์ ยังสามารถป้องกันโรคหูดหงอนไก่ของอวัยวะเพศและทวารหนักของทั้งผู้หญิงและผู้ชายได้อีกด้วย
 

วัคซีนเอชพีวีฉีดอย่างไร

ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป

ควรฉีดก่อนถึงวัยที่มีเพศสัมพันธ์ หรือก่อนติดเชื้อไวรัสเอชพีวีซึ่งจะได้ประโยชน์ในการป้องกันสูงที่สุด

กำหนดการฉีดวัคซีนเอชพีวีขึ้นกับอายุที่เริ่มฉีดวัคซีน ดังนี้

  •     ก่อนอายุ 15 ปี (ก่อนวันเกิดครบอายุ 15 ปี) ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน
  •     หลังอายุ 15 ปี ฉีด 3 เข็ม ที่ 0, 2 และ 6 เดือน
  •     ถ้ามีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง แนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ที่ 0, 2 และ 6 เดือน โดยไม่คำนึงถึงอายุ
  •     กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ฉีดวัคซีนเอชพีวี ในเด็กหญิงอายุ 11-12 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน
  •     หากเป็นวัคซีน 2 สายพันธุ์ ฉีด 3 เข็มที่ 0, 1 และ 6 เดือน


วัคซีนเอชพีวีมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

  •     วัคซีนมีความปลอดภัยสูง ยังไม่พบว่ามีการเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนโดยตรง
  •     อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา
  •     ซึ่งไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 2-3 วัน  
  •     อาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบ ได้แก่ ไข้ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ซึ่งไม่รุนแรงและหายได้เอง


ข้อแนะนำหลังฉีด

  •     ควรสังเกตอาการหลังฉีดวัคซีนแต่ละครั้งเป็นเวลา 15 นาที
  •     ควรคุมกำเนิดหลังจากฉีดวัคซีนครบแล้วอย่างน้อย 1 เดือน


Q: ได้รับวัคซีนเอชพีวียังต้องมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไหม ?

A: แม้ได้รับวัคซีนแล้ว เพศหญิงที่ถึงวัยจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรมาเข้ารับการตรวจตามปกติ
 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ChulalongkornHospital.go.th

ฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เด็ก ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

 


 
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ข้อมูลระบาดวิทยาปี 2560 พบว่า หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 8,184 คนต่อปี และมีอัตราเสียชีวิตเกิน 50% นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หลักการสำคัญคือ ควรฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไปจนถึงอายุ 26 ปี นอกจากป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงแล้ว วัคซีนยังป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วย


รู้จักวัคซีน HPV

วัคซีน HPV หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้

 
สายพันธุ์ HPV

ไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมีมากกว่า 40 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยวัคซีนที่ป้องกัน 2 สายพันธุ์นี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% มีชื่อว่า Cervarix ส่วนวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเช่นเดียวกัน และยังป้องกันโรคหูดที่อวัยวะเพศอีก 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 6 และ 11 ได้ถึง 95% มีชื่อว่า Gardasil ซึ่งการจะเลือกฉีดวัคซีนชนิดใดนั้น ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์

 
ฉีดวัคซีน HPV แบบไหนดีที่สุด

  •     ประสิทธิภาพวัคซีนสูง หากฉีดในวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
  •     ฉีดในวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายของเด็กผู้หญิงสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดีในช่วง 9 – 15 ปี ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง แต่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 ครั้ง
  •     ผู้หญิงอายุ 9 – 26 ปี ควรฉีดวัคซีน HPV โดยเน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11 – 12ปี
  •     เด็กผู้ชายอายุ 9 – 26 ปี สามารถฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก เน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11 – 12 ปี


 
วัคซีน HPV ฉีดให้ถูกต้อง

การฉีดวัคซีน HPV ต้องฉีดให้ครบถ้วนทั้งหมด 3 ครั้ง

  •     ครั้งที่ 1 : ฉีดในวันที่กำหนดเลือก
  •     ครั้งที่ 2 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 1 – 2 เดือน
  •     ครั้งที่ 3 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน  


***ในเด็กผู้หญิง หากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี สามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง ห่างกัน 6 – 12 เดือน

 
ข้อดีของวัคซีน HPV

  •     ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไวรัส HPV
  •     ผลข้างเคียงน้อยมาก อาจมีอาการปวด บวม คัน ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่หายได้เอง
  •     สามารถฉีดร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  •     ป้องกันไวรัส HPV ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย


 
ผู้ที่ห้ามฉีดวัคซีน HPV

  •     ผู้ที่ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อสารประกอบในวัคซีน

       

ไวรัส HPV ไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ยังรวมไปถึงมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และหูดอวัยวะเพศด้วย ดังนั้นการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีน HPV ให้ครบถ้วนตั้งแต่อายุยังน้อยย่อมช่วยให้ห่างไกลโรคได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : BangkokHospital.com

25 พ.ค. 2566

สรุปสถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำเดือน พ.ค.2566


สถานการณ์ไข้เลือดออก คาดว่าปีนี้จะเป็นปีของการระบาด โดยในเขตสุขภาพที่ 12 จังหวัดที่น่าสนใจคือ สงขลา ซึ่งมีอัตราป่วยสูงเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ ส่วนยะลาอยู่ลำดับที่ 16 ของประเทศ
ส่วนสถานการณ์ในอำเภอรามัน การระบาดได้ผ่านช่วง wave แรกไปแล้ว (ช่วงขาขึ้นของการระบาด ตั้งแต่ ตุลาคม 65 – กุมภาพันธ์ 66) แต่ทั้งนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นช่วงเปิดเทอม ถึงแม้ 3 สัปดาห์ล่าสุด รามันจะมีผู้ป่วยเพียง 7 ราย

สถานการณ์การระบาดของมาลาเรีย ภาพรวมของประเทศ  โดยยะลามียอดอัตราป่วย อยู่ลำดับที่ 7 ของประเทศ

รายละเอียดตามสไลด์ด้านล่างนี้เลยครับ